ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ เทศบาลตำบลครึ่ง จังหวัดเชียงราย  โทรศัพท์ : 053-783-328  โทรสาร : 053-783-329 คำขวัญ พระธาตุมากมีล้ำเลิศ  ถิ่นกำเนิด ว.วชิรเมธี พระพุทธรูปโบราณมีมากหลาย ผลิตภัณฑ์หวายลือชื่อ ผ้าทอมือสวยงาม บ่อน้ำซับกว้างใหญ่ประชาใฝ่คุณธรรม

แจ้งเรื่องร้องเรียนสายผู้บริหาร

ภารกิจผู้บริหาร

ปลัด

ถังเงินถังทอง




facebook

ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร



ระบบจัดการเว็บไซต์

ช่องทางร้องเรียน

ศูนย์ดำรงธรรม



กกต





สถิติการเข้าชม เริ่มวันที่ 04/01/2564
วันนี้
55
เมื่อวานนี้
65
เดือนนี้
2,839
เดือนที่แล้ว
8,026
ปีนี้
54,776
ปีที่แล้ว
32,770
ทั้งหมด
104,560
ไอพี ของคุณ
18.207.160.97

1
พระธาตุเขาเขียว,เทศบาลตำบลครึ่ง,khrueng.go.th

ชื่อวัด : พระธาตุเขาเขียว
ที่อยู่ : หมู่ที่ ๒ ตำบลครึ่ง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย
ประเภทวัด : สำนักสงฆ์
เจ้าอาวาส : พระครูใบฎีกาทองคำ ฐิตสีโล

26 มิถุนายน 2566

แผนส่งเสริมการท่องเที่ยว   เทศบาลตำบลครึ่ง ตำบลครึ่ง   อำเภอเชียงของ  จังหวัดเชียงราย ประจำปีงบประมาณ 2562 – 2566,เทศบาลตำบลครึ่ง,khrueng.go.th
26 มิถุนายน 2566

วัดครึ่งใต้,เทศบาลตำบลครึ่ง,khrueng.go.th

ชื่อวัด : วัดครึ่งใต้
ที่อยู่ : หมู่ที่ ๓ ตำบลครึ่ง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย
นิกาย : มหานิกาย ประเภทวัด : วัดราษฎร์
วันที่ตั้งวัด : พ.ศ.๒๔๗๐ วันรับวิสุงคามสีมา : พ.ศ.๒๕๑๔
เจ้าอาวาส : พระสุริยะพล อตฺถกาโม

14 มิถุนายน 2565

วัดครึ่งเหนือ,เทศบาลตำบลครึ่ง,khrueng.go.th

ชื่อวัด : วัดครึ่งเหนือ
ที่อยู่ : หมู่ที่ ๒ ตำบลครึ่ง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย
นิกาย : มหานิกาย ประเภทวัด : วัดราษฎร์
วันที่ตั้งวัด : พ.ศ.๒๔๖๐ วันรับวิสุงคามสีมา : พ.ศ.๒๔๗๙
เจ้าอาวาส : พระจรัญ ญาณธีโร

14 มิถุนายน 2565

วัดส้าน,เทศบาลตำบลครึ่ง,khrueng.go.th

ชื่อวัด : วัดส้าน
ที่อยู่ : หมู่ที่ ๑ ตำบลครึ่ง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย
นิกาย : มหานิกาย ประเภทวัด : วัดราษฎร์
วันที่ตั้งวัด : พ.ศ.๒๔๖๕ วันรับวิสุงคามสีมา : พ.ศ.๒๕๐๙
เจ้าอาวาส : พระฤทธิเดช ปริชาโณ

14 มิถุนายน 2565

วัดพระธาตุจอมตอง,เทศบาลตำบลครึ่ง,khrueng.go.th

ชื่อวัด : วัดพระธาตุจอมตอง
ที่อยู่ : หมู่ที่ ๖ ตำบลครึ่ง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย
ประเภทวัด : ส านักสงฆ์
เจ้าอาวาส : พระนคราช เขมวีโร

14 มิถุนายน 2565

วัดม่วงชุม,เทศบาลตำบลครึ่ง,khrueng.go.th

ชื่อวัด : วัดม่วงชุม
ที่อยู่ : หมู่ที่ ๗ ตำบลครึ่ง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย
นิกาย : มหานิกาย ประเภทวัด : วัดราษฎร์
วันที่ตั้งวัด : พ.ศ.๒๔๘๐ วันรับวิสุงคามสีมา : พ.ศ.๒๕๓๐
เจ้าอาวาส : พระอธิการเอกพงษ์ มานิโต

14 มิถุนายน 2565

วัดพร้าวกุด,เทศบาลตำบลครึ่ง,khrueng.go.th

ชื่อวัด : วัดพร้าวกุด
ที่อยู่ : หมู่ที่ ๕ ตำบลครึ่ง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย
นิกาย : มหานิกาย ประเภทวัด : วัดราษฎร์
วันที่ตั้งวัด : พ.ศ.๒๔๗๐ วันรับวิสุงคามสีมา : พ.ศ.๒๕๔๒
เจ้าอาวาส : พระล้วน พรฺหฺมปุญฺโญ

14 มิถุนายน 2565

วัดหลวง,เทศบาลตำบลครึ่ง,khrueng.go.th

ชื่อวัด : วัดหลวง
ที่อยู่ : หมู่ที่ ๔ ตำบลครึ่ง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย
นิกาย : มหานิกาย ประเภทวัด : วัดราษฎร์
วันที่ตั้งวัด : พ.ศ.๒๔๖๐ วันรับวิสุงคามสีมา : พ.ศ.๒๕๒๐
เจ้าอาวาส : พระอธิการบุญเพ็ชร วรธมฺโม

14 มิถุนายน 2565

วัดธรรมวราลังการ,เทศบาลตำบลครึ่ง,khrueng.go.th

ชื่อวัด : วัดธรรมวราลังการ
ที่อยู่ : หมู่ที่ ๙ ตำบลครึ่ง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย
ประเภทวัด : สำนักสงฆ์
เจ้าอาวาส : พระสุข สุทสฺสโน

14 มิถุนายน 2565

ทุ่งดอกปอเทือง ณ สนามกีฬาบ้านตอง,เทศบาลตำบลครึ่ง,khrueng.go.th
14 มิถุนายน 2565

มูลนิธิการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน,เทศบาลตำบลครึ่ง,khrueng.go.th

http://www.3r-foundation.or.th/th/network/network3r/north/detail/178/
แหล่งเรียนรู้การจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน เทศบาลตำบลครึ่ง จ.เชียงราย  เป็นแหล่งเรียนรู้แห่งที่ 5 ของประเทศและเป็นแห่งที่ 2 ของภาคเหนือ มีจุดเริ่มต้นจากการที่พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ท่าน ว.วชิรเมธี) ได้ร่วมการเสวนา “3R กลยุทธ์นำไทยสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” จากงานดังกล่าวท่านมีความสนใจและเห็นถึงความสำคัญของเรื่องปัญหาขยะและวัสดุรีไซเคิลเป็นอย่างยิ่ง และได้เยี่ยมชมและศึกษาดูงานด้านการจัดการขยะและวัสดุรีไซเคิลเพิ่มเติม ณ แหล่งเรียนรู้การจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน ชุมชนอ่อนนุช 14 ไร่ เขตประเวศ จ.กรุงเทพฯ ภายหลังการศึกษาดูงานดังกล่าว ท่านจึงมีความประสงค์ให้ขยายผลการดำเนินการไปยังชุมชนบ้านครึ่งใต้ อ.เชียงของ จ.เชียงราย ซึ่งเป็นบ้านเกิดของท่าน เพื่อเป็นต้นแบบการเรียนรู้แนวทางการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืนตั้งแต่ต้นทาง และขยายองค์ความรู้ต่อไปยังชุมชนอื่นๆในพื้นที่ต่อไป
        สำหรับแหล่งเรียนรู้การจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืนเทศบาลตำบลครึ่ง มีจุดเด่นในด้านการพัฒนาชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จนนำไปสู่การเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอพียง “อยู่เย็น เป็นสุข” และมีความเข้มแข็งในแบบการพึ่งพาตนเอง รวมถึงมีการส่งเสริมในด้านการจัดการขยะอย่างถูกวิธีและมีการนำกลับมาใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ ซึ่งเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด

แหล่งเรียนรู้ฯ เทศบาลตำบลครึ่ง ประกอบด้วยฐานการเรียนรู้ จำนวน 4 ฐาน ดังนี้
ฐานการเรียนรู้ที่ 1 บ้านครึ่งใต้ หมู่ที่ 3
     บ้านครึ่งใต้ มีระบบการบริหารจัดการหมู่บ้านตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เน้นกระบวนการพึ่งตนเองเป็นแนวทางในการพัฒนาหมู่บ้าน มีการเปิดเวทีประชาคมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหา จนพัฒนาเป็นหมู่บ้านน่าอยู่และอยู่ในระดับ “มั่งมี ศรีสุข” เกิดการรวมกลุ่มต่างๆ ในชุมชน โดยในฐานบ้านครึ่งใต้ ประกอบด้วย 11 ฐานย่อย ดังนี้
1. แหล่งเรียนรู้ด้านการทอผ้า และการบริหารจัดการกลุ่ม
เรียนรู้กระบวนการทอผ้า และการนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น กระเป๋า ผ้าถุง เสื้อผ้าชุดพื้นเมือง เป็นต้น รวมทั้งพัฒนาและปรับปรุงไปสู่ระดับผลิตภัณฑ์ OTOP ของตำบล
2. แหล่งเรียนรู้การตัดเย็บเสื้อผ้า
เรียนรู้กระบวนการและการดำเนินงานของกลุ่มเครือข่ายสตรีทอผ้า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการนำผ้าจากกลุ่มสตรีทอผ้ามาแปรรูป จนนำไปสู่การรับผ้าจากโรงงานมาตัดเย็บเป็นอาชีพเสริมได้อีกทางหนึ่ง
3. แหล่งเรียนรู้อาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐาน
เรียนรู้การจัดกิจกรรมของกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐาน (อสม.) การวัดส่วนสูง ชั่งน้ำหนัก วัดความดัน การนวดแผนโบราณโดยการตอกคลายเส้น พร้อมการสาธิต
4. แหล่งการเรียนรู้น้ำดื่มชุมชน
เรียนรู้กระบวนการทำงานของระบบ ในส่วนการติดตั้ง การจ่ายระบบน้ำ การซ่อมบำรุงรักษา รวมทั้งการบริหารจัดการของกลุ่ม เพื่อลดรายจ่ายของชาวบ้านในการซื้อน้ำดื่มจากโรงงานภายนอกชุมชน
5. แหล่งเรียนรู้การทำแคบหมู/ขนม/น้ำพริก
เรียนรู้การทำแคบหมู ขนม น้ำพริกสูตรต่างๆ ตามท้องถิ่น รวมถึงการถนอมอาหาร และการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ เพื่อให้สามารถนำไปสร้างอาชีพเสริมให้กับชุมชนได้
6. แหล่งเรียนรู้การจักสานหวาน/ไม้ไผ่
เรียนรู้การจักสานหวาย/ไม้ไผ่ของชุมชน ซึ่งเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น และส่งเสริมงานหัตถกรรม พัฒนาต่อยอด เพื่อตอบสนองความต้องการในการดำรงชีวิตและสร้างรายได้เสริม
7. แหล่งเรียนรู้การคัดแยกขยะ และร้านศูนย์บาท
เรียนรู้เกี่ยวกับร้านศูนย์บาท การคัดแยกขยะประเภทต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัสดุรีไซเคิล ซึ่งมีมูลค่าแทนเงินสดในการจับจ่ายใช้สอยในชีวิตประจำวัน รวมทั้งช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของชุมชนได้ นอกจากนี้ยังมีการให้ความรู้ในการนำบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วและเศษวัสดุเหลือใช้มาใช้ประโยชน์ โดยการประดิษฐ์เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ซึ่งเป็นการสร้างรายได้ให้อีกทางหนึ่ง
8. แหล่งเรียนรู้กลุ่มเพาะเลี้ยงไส้เดือน
เรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะอินทรีย์ในครัวเรือน โดยการเพาะเลี้ยงไส้เดือน ซึ่งไส้เดือนทำหน้าที่ในการช่วยย่อยสลายขยะอินทรีย์ที่เกิดขึ้น นอกจากนี้น้ำและมูลจากการเพาะเลี้ยงไส้เดือนยังสามารถนำไปใช้แทนปุ๋ยเคมีในแปลงเกษตร ช่วยลดต้นทุนการผลิตได้
9. แหล่งเรียนรู้การเลี้ยงปลาในนาข้าว
เรียนรู้การทำการเกษตรอินทรีย์แบบผสมผสาน ตามแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่
10. แหล่งเรียนรู้ประวัติท่าน ว.วชิรเมธี
เรียนรู้เกี่ยวกับประวัติและถิ่นกำเนิดของท่านมหาวุฒิชัย วชิรเมธี
11. แหล่งเรียนรู้ด้านการบริหารจัดการแหล่งน้ำนอกเขตชลประทาน
เรียนรู้วิธีการบริหารจัดการน้ำโดยใช้พลังงานทดแทนจากพลังงานแสงอาทิตย์ พร้อมการสาธิต
ฐานการเรียนรู้ที่ 2 บ้านประชาภิวัฒน์ หมู่ที่ 10
เน้นการเรียนรู้การจัดการขยะในรูปแบบต่างๆ รวมถึงเรียนรู้วิถีชีวิต และภูมิปัญญาชาวบ้านในท้องถิ่น ประกอบด้วย 5 ฐานย่อย ดังนี้
1.  แหล่งเรียนรู้การคัดแยกขยะและสิ่งประดิษฐ์รีไซเคิล
เรียนรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะตามประเภท และการนำบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วและเศษวัสดุเหลือใช้กลับมาใช้ประโยชน์ โดยการประดิษฐ์เป็นผลิตภัณฑ์หรือสินค้าต่างๆ ซึ่งเป็นการสร้างรายได้ให้กับชุมชน
2. แหล่งเรียนรู้ร้านค้าเครือข่าย ร้านศูนย์บาท
เรียนรู้การใช้วัสดุรีไซเคิลแทนเงินสดในการจับจ่ายใช้สอยในชีวิตประจำวัน ตามร้านค้าเครือข่ายที่เข้าร่วมกิจกรรม โดยไม่จำกัดประเภทสินค้าในค้าร้านเครือข่าย เพื่อเป็นการช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของครัวเรือน
3. แหล่งเรียนรู้กลุ่มทอผ้า
เรียนรู้กระบวนการทอผ้า และการนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น กระเป๋า ผ้าถุง เสื้อผ้าชุดพื้นเมือง รวมทั้งพัฒนาและปรับปรุงไปสู่ระดับผลิตภัณฑ์ OTOP ของตำบล
4. แหล่งเรียนรู้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ (บ้านครึ่งใต้และบ้านประชาภิวัฒน์)
เรียนรู้การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพจากวัสดุในท้องถิ่น ซึ่งมีวิธีการตั้งแต่การเทกอง จนบรรจุในรูปปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด เพื่อเป็นการลดต้นทุนในการผลิตสินค้าทางการเกษตร และเพิ่มมูลค่าให้มีปุ๋ยมีราคาที่สูงขึ้น
5. แหล่งเรียนรู้โรงสีข้าวกล้อง (บ้านครึ่งใต้)
เรียนรู้กรรมวิธีการสีข้าวกล้องพร้อมการสาธิต

ฐานการเรียนรู้ที่ 3 โรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลครึ่ง
เน้นการศึกษาการออมขยะเพื่อสร้างประโยชน์ให้แก่ชุมชน และการนำบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วและเศษวัสดุเหลือใช้มาผลิตเป็นสิ่งประดิษฐ์ โดยประกอบด้วย 2 ฐานย่อย ดังนี้
1.  กิจกรรมออมขยะ ออมบุญ (ผ้าป่ารีไซเคิล) 
เรียนรู้การออมบุญ หรือการทำบุญโดยใช้ขยะรีไซเคิลแทนเงินสด ซึ่งเป็นกิจกรรมต่อยอดจากร้านศูนย์บาทบ้านครึ่งใต้  โดยขยะรีไซเคิลที่ได้จะให้ทางกลุ่มคัดแยกขยะมารับ และให้คูปองกับทางโรงเรียนเพื่อนำไปแลกสินค้าภายในร้านศูนย์บาท สำหรับผลกำไรจากกิจกรรมใช้สำหรับเยี่ยมผู้สูงอายุที่ป่วยติดเตียงในเขตพื้นที่ตำบลครึ่ง
2.  กิจกรรมสิ่งประดิษฐ์จากเศษวัสดุเหลือใช้
เรียนรู้การทำดอกไม้ประดิษฐ์จากเศษวัสดุเหลือใช้โดยกลุ่มนักเรียนโรงเรียนผู้สูงอายุ เช่น การทำดอกไม้จันทน์ พวงรีด และสิ่งประดิษฐ์อื่นๆ สำหรับจำหน่ายในพิธีขาว-ดำ เพื่อสร้างรายได้ให้แก่กลุ่มผู้สูงอายุ และมอบรายได้ส่วนหนึ่งกับเจ้าภาพในพิธีเพื่อเป็นการร่วมทำบุญ
 
ฐานการเรียนรู้ที่ 4 โรงเรียนบ้านหลวง
ฐานการเรียนรู้โรงเรียนบ้านหลวง เน้นการศึกษาการบริหารจัดการขยะในโรงเรียนตามรูปแบบธนาคารวัสดุรีไซเคิล เพื่อส่งเสริมการคัดแยกขยะและปลูกฝังนิสัยการออมให้กับเยาวชน โดยรายได้จากผลต่างการจำหน่ายวัสดุรีไซเคิล นำไปซื้อสินค้าอุปโภค-บริโภคเพื่อเยี่ยมเยียนผู้พิการในชุมชน

14 มิถุนายน 2565

วัดครึ่งใต้,เทศบาลตำบลครึ่ง,khrueng.go.th

วัดครึ่งใต้ ตั้งอยู่เลขที่ ๑๑๘ หมู่ที่ ๓ ตำบลครึ่ง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย
มีเนื้อที่ ๔ ไร่ ๑ งาน ๙๑ ตารางวา อาณาเขตของวัด มีดังนี้
ทิศเหนือ ติดกับถนนสาธารณะประโยชน์
ทิศใต้ ติดกับถนนสาธารณะประโยชน์
ทิศตะวันออก ติดกับถนนสาธารณะประโยชน์
ทิศตะวันตก ติดกับโรงเรียนบ้านครึ่งใต้
วัดครึ่งใต้ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๑๘ ตามบันทึกของผู้คนในอดีต ได้เริ่มก่อสร้างวัดเมื่อประมาณพุทธศักราช ๒๔๔๗ ในสมัยของเจ้าหลวงอินตะยศ เจ้าหลวงเมืองเชียงขององค์ที่ ๗ จากนั้นได้มีการบูรณะซ่อมแซมหลายครั้งจนกระทั้งปีพุทธศักราช ๒๔๖๙ พระครูโสภณจริยกิจ ซึ่งตำรงตำแหน่งเจ้าคณะแขวงเชียงของอยู่ในขณะนั้น ได้ชักชวนและขอความร่วมมือกับชาวเชียงของสร้างวิหาร และกุฏิ จำนวน ๓๑ วัด รวมทั้งวัดครึ่งที่ได้ก่อสร้างตั้งแต่นั้นมา
ลำดับเจ้าอาวาส
1. พระอธิการบุญรัตน์ 2469 – 2488
2. พระอธิการก้อนแก้ว 2488 – 2491
3. พระอธิการอิ่นคำ 2497 – 2499
4. พระอธิการจันติ๊ป 2499 – 2500
5. พระอธิการประกาย 2500 – 2502
6. พระอธิการสวัสดิ์ 2502 – 2506
7. พระอธิการบุญผาย 2507 – 2508
8. พระอธิการประพัฒน์ 2508 – 2509
9. พระอธิการศรีจันทร์ 2509 – 2511
10. พระอธิการสมบูรณ์ 2511 – 2513
11. พระอธิการมงคล 2513 – 2514
12. พระอธิการดวงดี 2514 – 2515
13. พระครูวิรุฬห์วิริยธรรม 2515 - จนถึงปัจจุบัน

14 มิถุนายน 2565

ศูนย์บริหารจัดการวัสดุเหลือใช้ อ.เชียงของ,เทศบาลตำบลครึ่ง,khrueng.go.th

ศูนย์บริหารจัดการวัสดุเหลือใช้ อ.เชียงของ "เชียงของ RECYCLING CENTER"

บริหารจัดการโดยบริษัท ฟาร์มดี เซอร์วิส จำกัด โดยมีการดำเนินงานภายใต้มติของชุมชน

ส่งเสริมการจัดการขยะรีไซเคิล ประเภท ถุงพลาสติก กล่องนม ผ่านการใช้แอพพลิเคชั่น

ในการดำเนินงานการจัดเก็บข้อมูล การซื้อ - ขายผ่านระบบแอพพลิเคชั่น "ZERO.NET"

ทั้งนี้ ศูนย์บริหารจัดการวัสดุเหลือใช้ อ.เชียงของ ได้รับเกียรติจากนายทัศนัย สุธาพจน์

นายอำเภอเชียงของ เป็นที่ปรึกษาของศูนย์ฯ โดยได้มีการทำบันทึกข้อตกลงร่วมกันระหว่าง

ภาคีเครือข่ายภายในพื้นที่เทศบาลตำบลครึ่ง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอเชียงของ

ทั้ง 8 แห่ง ร่วมกันเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2562 ที่ผ่านมา

14 มิถุนายน 2565

เส้นทางการท่องเที่ยว,เทศบาลตำบลครึ่ง,khrueng.go.th
14 มิถุนายน 2565

1 2 >> >|

ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 / 2  (24 รายการ)